Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

มข. ร่วมสร้างหลักประกันโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษา กับ กสศ. และ อว.

รศ.เพียรศักดิ์  ภักดี  รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มข. ร่วมเป็นวิทยากรเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการในหัวข้อ “นวัตกรรมลดความเหลื่อมล้ำในสถาบันอุดมศึกษา โอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิตนักศึกษาสู่โอกาสพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย”  ในงานประชุมเพื่อพัฒนาแนวทางการสร้างหลักประกันโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่จัดขึ้นโดย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และ กระทรวงการอุดมศึกษา  วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)  ณ  โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา

ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย  ปทุมนากุล  รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา  วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม พร้อมด้วย ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร  ประธานอนุกรรมการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ กสศ.  ได้ปาฐกถาในหัวข้อ “บทบาทของสถาบันการศึกษาในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา”  รวมถึงการเสวนาทางวิชาการ และการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนารูปแบบการเก็บข้อมูลการช่วยเหลือและการติดตามนิสิตนักศึกษาผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์รายบุคคล เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการระบบร่วมกันของ กสศ. และสถาบันอุดมศึกษา

ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เผยสถิตินักเรียนในระบบการคัดกรองนักเรียนยากจนที่เคยได้รับทุนเสมอภาคจาก กสศ. และทุนอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานนักเรียนจากต้นสังกัดในระดับชั้น ม.3 เมื่อปีการศึกษา 2562 พบว่ายืนยันสิทธิ์ผ่านระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา (TCAS) ปีการศึกษา 2566 จำนวน 21,922 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 12.46 ของนักเรียนทุนฯ จำนวน 175,977 คน กระจายอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาจำนวน 69 แห่งทั่วประเทศ

ปี 2566 มีนักเรียนกลุ่มยากจนและยากจนพิเศษ ยืนยันสิทธิ์ TCAS เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ซึ่งมี 20,018 คน เนื่องจากฐานประชากรกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้นจากการที่ กสศ. ได้รับงบประมาณมากขึ้นในปี 2562 ที่ได้ขยายจากการทำงานร่วมกับ สพฐ. ในปี 2561 ไปยังสังกัด อปท. และ บก.ตชด. ขณะที่เมื่อเทียบสัดส่วนการยืนยันสิทธิ์จะพบว่า ปีการศึกษา 2566 มีสัดส่วนการยืนยันสิทธิ์ลดลงจากปี 2565 ที่ร้อยละ 13.52 จึงเป็นโจทย์สำคัญว่าจะสร้างหลักประกันโอกาสทางการศึกษาให้เด็กซึ่งสอบติดใน 69 สถาบันอุดมศึกษา มีความมั่นใจในการเรียนต่อได้อย่างตลอดรอดฝั่งร่วมกันอย่างไร

“สาเหตุที่ต้องพูดกันในหัวข้อการสร้างหลักประกันโอกาสทางการศึกษา เพราะยังมีเด็กอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่กล้าก้าวข้ามไปเรียนในระดับที่สูงขึ้น หรือก้าวจากการศึกษาภาคบังคับไปสู่ชั้นมัธยมปลายหรือไปถึงระดับอุดมศึกษา ด้วยเห็นว่าตนเองยังขาดหลักประกันที่จะสามารถเรียนต่อไปได้จนจบการศึกษาแล้วไปสู่การมีงานทำ เด็กและผู้ปกครองจำนวนหนึ่งจึงตัดสินใจออกจากโรงเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น หรือสมัครใจที่จะไม่เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น”

ดร.ไกรยส กล่าวว่า มหาวิทยาลัยทุกแห่งและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถติดตามรายชื่อของนักเรียนกลุ่มนี้ เพื่อติดตามให้ความช่วยเหลือด้านทุนการศึกษาและมาตรการต่าง ๆ ให้เป็นระบบได้ เช่น ให้โอกาสทำงานพิเศษระหว่างเรียน งานอาสาสมัคร เพื่อให้มีรายได้ระหว่างเรียนและมีกำลังใจในการเรียนต่อจนสำเร็จการศึกษา

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • การวิเคราะห์ข้อมูลผ่าน Google Analytics

    การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ใช้โดยระบบ Google analytics ใช้สำหรับเก็บสถิติการเข้าใช้งานของเว็บไซต์เท่านั้น ไม่ได้มีการใช้เพื่อหาประโยชน์จากการเก็บในครั้งนี้

บันทึกการตั้งค่า